พระพุทธรูปบูชารัชกาลปางยับยุม หน้าตัก 2 นิ้ว สูง 4.5 นิ้ว ศิลปะทิเบตองค์นี้เทหล่อในไทยดูจากลักษณะการหล่อหนา อายุโลหะใกล้เคียง 100ปี ปางยับยุม (Yab-Yum) คือพระพุทธรูปปางที่มีอิสตรีนั่งคร่อมตักคู่เคียงอยู่ด้วย
เป็นพระพุทธรูปของพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยาน (Vajarayana) นิกายตันตระ
(Tantra)ความเป็นจริงแล้วพระพุทธรูปปางนี้มีอยู่จริงในพระพุทธศาสนา
พระพุทธรูปนี้เป็นพระพุทธรูปแบบ "วัชรยาน" เป็นศิลปะแบบ
"ตันตระ" ของทิเบต
ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาในหมู่ประชาชนชาวทิเบตมานานนับพันปี พระพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยาน
เกิดขึ้นในอินเดียในยุคสมัยที่ลัทธิตันตระกำลังเฟื่องฟู
ซึ่งมีอิทธิพลต่อทั้งปรัชญาและศาสนาในอินเดียอย่างมาก
ลัทธิตันตระได้ยกย่องและเน้นความสำคัญของเทพเจ้าที่เป็นภาคผู้หญิงขึ้นมา
เนื่องจากเทพเจ้าทุกพระองค์ในคติความเชื่อแบบตันตระ
ซึ่งรวมทั้งพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย จึงมี "ตารา"
หรือคู่ครองสวมกอดอยู่ ซึ่งนี่ก็เป็นปริศนาธรรม โดยปฏิมากรรมเทพเจ้าเพศหญิงและเพศชายสวมกอดกันอยู่นั้น
ชาวทิเบตเรียกว่า "ยับยุม" มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์มากกว่าอย่างอื่น
พุทธศาสนาฝ่ายตันตระอธิบายว่า การตรัสรู้เป็นผลรวมของปัญญาและกรุณา
โดยที่เพศหญิงเป็นสัญลักษณ์ของ "ปัญญา" ขณะที่เพศชายเป็นสัญลักษณ์ของ
"กรุณา"
ตามทรรศนะแบบตันตระ ปัญญาเปรียบเหมือนดวงตา กรุณาเปรียบเหมือนแขนขา
หากขาดดวงตาแล้ว แขนขาก็กระทำการอย่างมืดบอด
หากขาดแขนขาแล้วดวงตาก็ไม่อาจจะทำอะไรได้
ดวงตาและแขนขาจึงต้องทำงานร่วมกันอย่างแยกไม่ได้
ปัญญาและกรุณาต้องรวมเป็นหนึ่งเดียวจึงจะเป็นการตรัสรู้ที่สมบูรณ์
Cr.ข้อมูลจาก Voice Tv Feb.28,2013
|