พระบูชาปางนาคปรก สมัยลพบุรี(พุทธศตวรรษที่ 16-18) อยู่ในช่วงยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระองค์ทรงเปลี่ยนจากการนับถือศาสนาพราหมณ์(ฮินดู)มาเป็น ศาสนาพุทธมหายาน ในปราสาทบายนจะมีพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อยู่บนยอดปราสาทมองลงมาแล้วยิ้ม(เรียกว่ายิ้มบายน)มีทุกทิศของยอดปราสาท และในปราสาทจะมีพระพุทธรูปประดิษฐ์ฐานไว้มากมายส่วนใหญ่เป็นพระปางนาคปรก หลังจากสิ้นยุคสมัยท่านพระมหากษัตริย์องค์ถัดมาก็กลับมานับถือศาสนาพรามหณ์(ฮินดู) และพระพุทธรูปส่วนใหญ่ก็ถูกนำไปฝังดินตามที่ได้ขุดพบเจอตามแหล่งอารยธรรมขอมโบราณตามที่พระองค์ได้แผ่ขยายพระราชอำนาจออกไป พระองค์นี้หน้าตัก 7
นิ้ว ความสูงจากฐานถึงปรก 15 นิ้ว 2 ถอด เนื้อชินสุดยอดแห่งความหายากทั่วไปเจอแต่เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อชินพบเจอได้น้อยมาก พระองค์นี้เคยได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือเรื่อง "ประมวลภาพประติมา"ถึง 3 ครั้ง เป็นองค์ดารามากว่า50 ปี ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2507 ครั้งที่ 2 ปี 2508 และครั้งที่ 3 ปี 2517
|