พระปิดตาหลวงปู่รอด วัดโคนอน
เนื้อไม้แกะก้นอุดชันนะโรงเท่าที่ปรากฏหลักฐานท่านมีพื้นเพและภูมิลำเนาเดิมอยู่คลองขวาง
ต.คุ้งเผาถ่าน อ.บางขุนเทียน จ.ธนบุรี (ในสมัยนั้น) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็น
พระครูธรรมถิดาญาณ หลวงปู่รอดท่านเป็นฐานานุกรมของ พระนิโรธรังสี
พระราชาคณะชั้นสามัญ เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดหนัง ราชวรวิหาร
ในยุคของการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3 และเป็นพระเถระผู้เชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนาธุระที่สำคัญรูปหนึ่ง
ทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นพระผู้เรืองในพุทธาคม สรรพวิทยาคมต่างๆ เมื่ออยู่วัดหนัง
ราชวรวิหาร อยู่หมู่กุฏิสงฆ์คณะสระ ครั้นเมื่อ พระนิโรธรังสี ถึงแก่มรณภาพแล้ว
ท่านได้รักษาการเจ้าอาวาสอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น
เจ้าอาวาสวัดนางนอง วรวิหาร และพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ
ในพระราชทินนามที่ พระภาวนาโกศลเถระ เมื่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนางนอง วรวิหาร
ท่านได้เอาใจใส่ดูแลพัฒนาพระอารามแห่งนี้จนเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ โดยมี
พระภาวนาโกศลเถระ (หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร)
เป็นกำลังอันสำคัญคอยดูแลเอาใจใส่ในทุกด้าน หลวงปู่เอี่ยมจึงเป็นที่ไว้วางใจและได้รับการถ่ายทอดพุทธาคม
สรรพวิทยาคมต่างๆ จากหลวงปู่รอดจนหมดสิ้นในระหว่างพำนักจำพรรษา ณ วัดนางนอง
วรวิหาร แห่งนี้ หลวงปู่เอี่ยมได้รับแต่งตั้งเป็น พระใบฎีกา และ พระปลัด ตามลำดับ
ในฐานานุกรมของพระภาวนาโกศล (หลวงปู่รอด) จนกระทั่งมีเหตุต้องย้ายไปอยู่วัดโคนอน เนื่องมาจากในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชทานกฐินวัดนางนอง หลวงปู่รอดไม่ยอมถวายอดิเรก
ทางราชการจึงปลดออกจากตำแหน่ง และริบสมณศักดิ์คืน
ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความคิดที่ท่านไม่เห็นด้วย ในการที่รัชกาลที่ 4 ทรงตั้ง
"ธรรมยุติกนิกาย" ขึ้นมา ทำให้สงฆ์ต้องแตกแยกกันนั่นเอง
ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ผู้ใดไม่เห็นด้วยก็ไม่ควรเป็น "พระราชาคณะ"
อีกต่อไป
บางข้อมูลก็ได้กล่าวไว้ว่าเนื่องจากหลวงปู่รอดท่านชราภาพมากแล้วหูอาจจะตึงไม่ได้ยินหรือเกิดอาการหลงลืมตามประสาคนแก่ชราภาพแต่หลวงปู่ก็ไม่ได้ยึดติดในลาภยศใดๆ
ท่านก็ได้มอบหมายให้หลวงปู่เอี่ยมศิษย์เอกได้รับช่วงต่อ
เมื่อหลวงปู่รอดถูกถอดจากสมณศักดิ์แล้ว ก็ออกจากวัดนางนอง
กลับไปยังวัดบ้านเกิดที่ห่างไกลจากความเจริญ คือ "วัดโคนอน"
และได้มรณภาพที่วัดนั้น
|