เหรียญสมโภชพระพุทธชินสีห์ ปี พ.ศ. 2440 วัดบวรนิเวศวิหาร เหรียญทองแดงกะไหล่เงิน
ขอบข้างเลื่อยและแต่งเก็บงานด้วยตะไบ เหรียญที่พบโดยทั่วไปมีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ
ทรงกลมไม่ตัดปีก และ รูปทรงใบโพธิ์ มีทั้งกะไหล่ เงิน กะไหล่ทอง และผิวไฟจัดเป็นเหรียญพระพุทธเหรียญแรกของประเทศไทย
สันนิษฐานว่ามีจุดมุ่งหมายในการสร้าง ๓ ประการ คือ
๑. เพื่อสมโภชพระพุทธชินสีห์ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญขององค์พระซึ่งเป็นพระราชศรัทธายิ่งของพระมหากษัตริย์
ตลอดจนประชาชนชาวสยามทั้งหลาย
๒. เพื่อเป็นที่ระลึก ร. ๕
เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้เสด็จประพาสยุโรป
แสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดีของพสกนิกรชาวสยามที่มีต่อพระมหากษัตริย์ยิ่ง ด้วยการเดินทางครั้งนี้นั้น
พระองค์ทรงต้องเผชิญ ความยากลำบากการเดินเรือในมหาสมุทรนานกว่า ๘ เดือน
๓. เพื่อเป็นที่ระลึกในวโรกาสสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอของ
ร.๕ สันนิษฐานว่าคงเป็นพระดำริของของพระองค์ในการจำลองภาพพระพุทธชินสีห์มาเป็นแบบ
เนื่องจากพระองค์ทรงร่วมเป็นหลักในงานสมโภชดังกล่าว
อีกทั้งยังได้ทรงโปรดให้คณะสงฆ์ร่วมเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรและสดุดีพระเกียรติคุณในโอกาสดังกล่าว
เหรียญชนิดนี้ยังเป็นที่นิยมในหมู่วงการพระเครื่องเรียกว่า "เหรียญปู่
ในปัจจุบันหาได้ยาก เนื่องจากไม่ปรากฏจำนวนที่สร้างที่ชัดเจน
Cr.ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมธนารักษ์
*ส่วนขยายเพิ่มเติมเป็นข้อสันนิษฐานส่วนตัวโปรดใช้วิจารณญานในการอ่าน
ในหลายๆข้อมูลก็ไม่ปรากฎรายนามของคณาจารย์ในการปลุกเสก ในข้อสันนิษฐานส่วนตัว
คำว่าคณะสงฆ์ ในยุคนั้น คงหมายถึง ระดับชั้นสมเด็จ และ พระราชาคณะ และ
พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนเป็นเพียงข้อสันนิษฐานความคิดเห็นส่วนตัวที่น่าจะเป็นไปได้ ที่มาร่วมพิธีปลุกเสกในคราวนี้อธิเช่น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวัณรัต(แดง) และ สมเด็จพระสังฆราช แพ ในขณะที่ทรงสมณศักดิ์พระศรีสมโพธิ
วัดสุทัศน์ฯ และ พระพุฒาจารย์มา วัดสามปลื้ม ในขณะนั้นสมณศักดิ์ พระมงคลทิพยมุนี
ศรีชลังคันตรีปเทศ และ พระภาวนาโกศล(หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ) และ
พระครูอุตตรการบดี (หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก )
ดังจะเห็นได้จากพระราชพิธีพุทธาภิเษกสำคัญ ๆ
ท่านจะได้รับนิมนต์ร่วมพิธีนั่งปรกปลุกเสกเสมอ เช่นพระราชพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งปวเรศและพระราชพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งสวนเต่า
รัชกาลที่ ๕ เป็นต้น ปัจจุบันอายุเหรียญก็เดินทางมาถึง 123 ปี
|